0
0.00
การทำบุญกฐิน พิเศษกว่าการทำบุญอื่นอย่างไร ?
การทำบุญกฐิน พิเศษกว่าการทำบุญอื่นอย่างไร ?

ชาวไทยโดยส่วนใหญ่เคยได้ยินคำว่า กฐิน ทำบุญกฐิน ทำบุญทอดกฐิน ทำบุญกรานกฐิน ทำบุญถวายผ้ากฐิน เป็นต้น  การทำบุญกฐินนั้นมีทั้งพิธีหลวง พิธีแบบชาวบ้าน จริงๆแล้วเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์จัดขึ้นเพื่อถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์ แต่ปัจจุบันนอกจากจะถวายผ้าไตรจีวรแล้ว ชาวไทยก็มีวัตถุสิ่งของอย่างอื่นรวมไปถึงเงินทองถวายเพื่อสมทบทุนการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด เช่น ศาลา กุฏิพระ ห้องน้ำ เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นบริวารกฐิน 

การทำบุญกฐินนั้นมีกำหนดเวลาไว้ชัดเจน คือ หลังจากออกพรรษา ภายใน 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน 

แล้วการทำบุญกฐิน พิเศษกว่าการทำบุญอื่นอย่างไร ?
พิเศษ...เพราะเป็นทานที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตโดยตรง 
พิเศษ...เพราะเป็นสังฆทานไม่เจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง 
พิเศษ...เพราะมีเวลาถวายภายใน 1 เดือนหลังจากออกพรรษาเท่านั้น    
พิเศษ...เพราะต้องตัดเย็บผ้าให้เสร็จภายในวันถวาย แต่ปัจจุบันใช้ผ้าสำเร็จรูปที่มีการตัดเย็บถูกต้องตามหลักพระวินัยก็ใช้ได้ 
พิเศษ...เพราะได้ถวายพระภิกษุที่จำพรรษาครบ 3 เดือน 
และพิเศษ...เพราะ 1 วัด สามารถรับได้ 1 ครั้ง ต่อ 1 ปีเท่านั้น 

จะเห็นได้ว่ามีความพิเศษจากการทำบุญอื่นๆจริง ดังนั้น ชาวไทยพุทธจึงนิยมจับจองเป็นเจ้าภาพกฐินตามวัดที่ตนศรัทธา นอกจากนั้นก็มีผู้ที่จองวัดที่ไม่เจาะจงก็มีเช่นกัน

+